Saturday, December 3, 2016

วิธีเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัยตามหลักสากล



ในการทำงานวิจัย เราเขียนวัตถุประสงค์เพื่อบอกผู้อ่านว่า  เราจะทำอะไร  

เราจึงมีรูปแบบการเขียนวัตถุประสงค์  ที่ขึ้นต้นข้อความด้วยคำว่า  เพื่อ…………………………………...”  
             
              เช่น

ชื่องานวิจัย :  ปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX
             วัตถุประสงค์ :  เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX
           
              ยิ่งวัตถุประสงค์มีหลายข้อ  แสดงว่าเราจะทำงานมาก และเราต้องทำให้ได้ทุกข้อของวัตถุประสงค์ที่เราเขียน  ซึ่ง การเขียนวัตถุประสงค์ที่ดีไม่จำเป็นต้องมีหลายข้อ การเขียนวัตถุประสงค์ให้ดี ให้ได้ทุน และเป็นไปตามหลักสากล  ควรใช้คำศัพท์ต่อไปนี้


I. หลักการเขียนวัตถุประสงค์ และ คำศัพท์ที่ควรใช้ในการเขียนวัตถุประสงค์
วิธีเขียนวัตถุประสงค์ของงานวิจัยไม่ได้แตกต่างจากการเขียนวัตถุประสงค์ในงานธุรกิจหรือในงานอื่นๆ โดยมีหลักการ คือ SMART หมายความว่า วัตถุประสงค์ที่ดีต้องระบุชัดเจนว่าจะทำอะไ ร (Specific) วัดได้ (Measurable) ทำได้ (Attainable) อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง (Realistic) และ เหมาะสมกับระยะเวลา (Time-related)
              
              การเขียนวัตถุประสงค์จึงมีคำศัพท์เฉพาะที่เหมาะสมกับหลักการ SMART  คือ  คำดังต่อไปนี้

ระบุ (identify) - - เพื่อระบุปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX
วิเคราะห์ (analyze) - - เพื่อวิเคราะห์สาเหตุการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX
สังเคราะห์ (synthesize) - - เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยด้านไทศึกษาตั้งแต่ปี ค..2000-2016
สร้าง (construct) - - เพื่อสร้างแอพลิเคชั่นฝึกออกเสียงภาษาไทย /
      เพื่อสร้างทฤษฎีการบริโภค…/
      เพื่อสร้างโมเดลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในจังหวัดเชียงราย
เปรียบเทียบ (compare) - - เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการอ่านภาษาไทยก่อนและหลังการใช้แอพลิเคชั่นฝึกออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยในนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 4

ฯลฯ

II. คำศัพท์ที่ไม่ควรใช้ในการเขียนวัตถุประสงค์
              หา (find) - - เพื่อหาปัจจัยปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX  ที่ไม่ควรใช้เนื่องจาก คำว่า หา เป็นคำที่ไม่เป็นทางการ
              ศึกษา (study) - - เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX  ที่ไม่ควรใช้เนื่องจาก คำว่า ศึกษา เป็นคำที่ไม่ชัดเจนว่าจะศึกษาอย่างไร และ วัดค่าได้ยาก จึงไม่ตรงกับหลักการ SMART
 ฯลฯ

III. ความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์กับส่วนอื่นๆของงานวิจัย
             ทุกส่วนของงานวิจัยจะสัมพันธ์กันหมด วัตถุประสงค์ กับ ส่วนต่างๆของงานวิจัยก็เช่นเดียวกัน
1.  วัตถุประสงค์กับชื่องานวิจัย จะต้องสัมพันธ์กัน  
เช่น   
ชื่องานวิจัย :  ปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX
              วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับชื่องานวิจัย :  เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX   หรือ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของการ Drop out ของนักศึกษา  ก็ได้เช่นกัน  แบบนี้จะผ่านค่ะ

              วัตถุประสงค์ที่ไม่สอดคล้องกับชื่องานวิจัย :  เพื่อวิเคราะห์ผลจากการ Drop out ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัย XXX  อันนี้จะเป็นคนละเรื่องกับชื่องานวิจัย    แบบนี้จะไม่ผ่านนะคะ

2. วัตถุประสงค์กับการรายงานผลการวิจัย และสรุปผลการวิจัย จะต้องสัมพันธ์กัน
              วัตถุประสงค์มีกี่ข้อ ในรายงานผลการวิจัยและสรุปผลการวิจัยจะต้องมีจำนวนหัวข้อครบตามวัตถุประสงค์  เช่น 


อย่าลืมนะคะ 
" ถ้าวัตถุประสงค์มีหลายข้อ  ต้องรายงานผลการวิจัยให้ครบตามวัตถุประสงค์ทุกข้อ
านวิจัยที่มีคุณภาพ  อาจจะไม่ต้องมีวัตถุประสงค์หลายข้อก็ได้ "

No comments:

Post a Comment