สำหรับงานวิจัย วิธีเขียนสมมติฐาน (hypothesis) ไม่ยากอย่างที่คิด เพราะสมมติฐาน คือ การที่นักวิจัยได้คาดการณ์ล่วงหน้าว่าผลการวิจัยจะออกมาเป็นแบบใด สมมติฐานที่ดีมีหลักการเขียน คือ CAR ดังนี้
1 1. Clear ชัดเจน
2 2. Assignable พิสูจน์ได้
3 3. Relevant สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
CLEAR ชัดเจน
ตัวอย่างเช่น
งานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีผลต่อการ drop out ของนักศึกษามหาวิทยาลัย xxx“
สมมติฐานที่ไม่ควรเขียน “ปัจจัยที่มีผลต่อการ drop out ของนักศึกษามหาวิทยาลัย xxx มีหลายปัจจัย” แบบนี้เรียกว่า ตั้งสมมติฐานไม่ชัดเจน ไม่มีข้อมูลหรือตัวเลขที่เราคาดการณ์อย่างเป็นรูปธรรมแสดงอยู่ในสมมติฐาน
สมมติฐานที่ชัดเจน คือ “ปัจจัยที่มีผลต่อการ drop out ของนักศึกษามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ครอบครัว เศรษฐกิจ และความถนัดของผู้เรียน” แบบนี้เรียกว่าตั้งสมมติฐานได้ชัดเจน
Assignable พิสูจน์ได้
ตัวอย่างเช่น
งานวิจัยเรื่อง “ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยวิธีการแสดงละคร”
สมมติฐานที่ไม่ควรเขียน “ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยวิธีการแสดงละครเพิ่มขึ้น” แบบนี้เรียกว่าตั้งสมมติฐานแบบไม่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะไม่ได้ระบุว่าเพิ่มขึ้นเท่าไหร่/อย่างไร
สมมติฐานที่พิสูจน์ได้ คือ “เมื่อเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนหลังฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยวิธีการแสดงละครกับก่อนเรียนมีค่าเพิ่มขึ้น 50%” แบบนี้เรียกว่าตั้งสมมติฐานได้ชัดเจนและพิสูจน์ได้ว่าเพิ่มขึ้น 50% จริงหรือไม่
Relevant สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ตัวอย่างเช่น
งานวิจัยเรื่อง “ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยวิธีการแสดงละคร”
วัตถุประสงค์ คือ “เพื่อวิเคราะห์คะแนนการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษก่อนและหลังการเรียนด้วยวิธีการแสดงละคร”
สมมติฐานที่ไม่ควรเขียน “คะแนนการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของนักเรียนไม่แตกต่างกัน” แบบนี้เรียกว่าตั้งสมมติฐานแบบไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เนื่องจากเราไม่ได้ต้องการนำคะแนนของนักเรียนแต่ละคนมาเปรียบเทียบกัน แต่เราจะเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยวิธีการแสดงละคร
สมมติฐานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คือ “เมื่อเปรียบเทียบคะแนนของนักเรียนหลังฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยวิธีการแสดงละครกับก่อนเรียนมีค่าเพิ่มขึ้น 50%” แบบนี้เรียกว่าตั้งสมมติฐานได้ชัดเจนและพิสูจน์ได้และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ในสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เราจะตั้งสมมติฐานหรือไม่ก็ได้
ถ้าตั้งสมมติฐาน นั่นแสดงว่าเราได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงผลที่จะเกิดขึ้น มันจะเป็นเหมือนหลักชัยให้เรามองเห็นทางเดินต่อ แต่ถ้าสุดท้ายถ้านักวิจัยพบว่า ผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือ พิสูจน์ได้ว่าสมมติฐานผิด ไม่ต้องตกใจจนไปแก้ผลการวิจัยให้เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ให้คิดว่านี่เป็นเรื่องปกติ และจะดีกับนักวิจัยเสียอีก เพราะนั่นแสดงว่าเราอาจจะกำลังค้นพบผลการวิจัยที่น่าสนใจอยู่
เช่น ผลการวิจัยพบว่า
คะแนนหลังนักเรียนฝึกอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษด้วยวิธีแสดงละครมีค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนฝึกอ่านออกเสียงด้วยวิธีดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าคะแนนต้องเพิ่มขึ้น
50% ขึ้นไป
นี่แสดงให้เห็นว่าเราได้ค้นพบว่าวิธีแสดงละครอาจจะไม่ได้ช่วยด้าน proficiency มากนัก แต่ช่วยด้านอื่นๆมากกว่า เช่น motivation นักวิจัยอาจจะต้องพิจารณาว่าวิธีแสดงละครมีประโยชน์ต่อการอ่านจริงหรือไม่ หรือ ถ้ามันไม่ได้ช่วยเพิ่มคะแนนการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ มันเกิดสาเหตุจากอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เราควรแนะนำให้ครูใช้วิธีนี้สอนหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งในที่สุดมันจะทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ๆไม่รู้จบต่อไป
นี่แสดงให้เห็นว่าเราได้ค้นพบว่าวิธีแสดงละครอาจจะไม่ได้ช่วยด้าน proficiency มากนัก แต่ช่วยด้านอื่นๆมากกว่า เช่น motivation นักวิจัยอาจจะต้องพิจารณาว่าวิธีแสดงละครมีประโยชน์ต่อการอ่านจริงหรือไม่ หรือ ถ้ามันไม่ได้ช่วยเพิ่มคะแนนการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ มันเกิดสาเหตุจากอะไร ทำไมเป็นเช่นนั้น เราควรแนะนำให้ครูใช้วิธีนี้สอนหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งในที่สุดมันจะทำให้เราค้นพบสิ่งใหม่ๆไม่รู้จบต่อไป
อย่าลืมนะคะ ถ้าพิสูจน์แล้วสมมติฐานผิด แสดงว่าเราอาจกำลังค้นพบผลการวิจัยที่น่าสนใจอยู่ อย่าไปแก้ไขหรือเปลี่ยนผลการวิจัยให้ตรงสมมติฐานเป็นอันขาด ให้รายงานไปตามความจริง...
No comments:
Post a Comment